วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

อุบัติเหตุจากการได้รับสารพิษ และการป้องกัน

อุบัติเหตุจากการได้รับสารพิษ และการป้องกัน
     สารพิษ หมายถึงสารเคมีที่เข้าสู่ร่างกาย หรือสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย แม้เพียงจำนวนเล็กน้อย ก็ทำให้เกิดอันตราย ต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เป็นผลให้เกิดความเสียหาย หรือถึงแก่ความตายได้
     สารมีพิษที่บุคคลในบ้าน อาจได้รับอันตราย ได้แก่ ยาฆ่าแมลง ยารักษาโรคทุกชนิด ยาปราบศัตรูพืช น้ำด่าง น้ำกรด สารที่ใช้ทำความสะอาดต่างๆ แอลกอฮอล์ สีทาบ้าน น้ำมันเบนซิน เชื้อเพลิงเหลวทุกชนิด รวมทั้งอาหาร และพืชพันที่ปนเปื้อนด้วยสารมีพิษ
     การเข้าสู่ร่างกายของสารมีพิษ

      สารมีพิษเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง ดังนี้
1.      ทางปาก ได้แก่ การกินเข้าไป
2.      ทางจมูก ได้แก่ การหายใจเอาสารที่ระเหยได้อุณหภูมิปกติ หรือการหายใจเอาฝุ่นละอองของโลหะต่างๆ
3.      ทางผิวหนัง ได้แก่ การสัมผัสสารมีพิษทางผิวหนัง หรือการฉีดสารมีพิษเข้ากล้ามหรือเส้นเลือด เช่น ยาเสพติด
    สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจากสารมีพิษ  อุบัติเหตุจากสารพิษอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่างๆ ดังนี้

     1. ความประมาณ ความประมาทเลินเล่อ ทำให้เกิดการหยิบของผิด เช่น หยิบยาผิด
     2. ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อุบัติเหตุอาจเกิดจากความไม่รู้ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์
     3. การจัดสารเคมีหรือสารมีพิษต่างๆ โดยขาดความเป็นระเบียบ รอบคอบ เช่น การเก็บรวมกับของกิน หรือเก็บไว้ใกล้มือเด็ก ไม่มีฉลากปิดชื่อและวิธีการใช้สารเคมีนั้นๆ ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
วิธีป้องกันอันตรายจากสารพิษ  การป้องกันอันตรายจากสารมีพิษนั้น ควรปฏิบัติดังนี้

     1. ก่อนใช้ยาและสารเคมี ควรอ่านฉลาก และวิธีการใช้ให้เข้าใจอย่างถูกต้องแล้วปฏิบัติตาม อย่างเคร่งครัด
     2. ไม่ควรหยิบยาหรือสารเคมีมาใช้ ขณะที่เมาสุรา
ศึกษาหาความรู้ เกี่ยวกับอันตรายและวิธีป้องกันอุบัติเหตุเกี่ยวกับสารมีพิษ

     3. เก็บสารมีพิษไว้ในตู้อย่างมิดชิด พ้นมือเด็ก และปิดฉลากชื่อและวิธีการใช้สารมีพิษเหล่านั้นด้วย
     4. การใช้ยากันยุง ถ้าจำเป็นควรใช้การระบายอากาศดี หรือใช้ขณะที่ไม่มีคนอยู่ในห้อง
     วิธีปฏิบัติเมื่อถูกสารมีพิษ
1.      เมื่อสารมีพิษเข้าทางปาก
1.1   ควรทำให้อาเจียน โดยให้น้ำอุ่นมากๆ หรือล้วงคอ แต่ถ้ากินกรดหรือด่างห้ามให้อาเจียน ถ้าทราบว่ากินกรดเข้าไปให้กินน้ำสบู่อ่อนๆ แต่ถ้าทราบว่ากินด่างเข้าไปให้กินน้ำส้มคั้นหรือน้ำส้มสายชูอ่อนๆ แล้วรีบส่งแพทย์
1.2   รีบให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล
1.3   ถ้าผู้ป่วยหมดสติให้ช่วยเป่าลมเข้าทางปากหรือจมูก แล้วนำส่งโรงพยาบาลถ้าผู้ป่วยรู้สึกตัว ให้รีบทำให้อาเจียน
2.      เมื่อสารมีพิษเข้าทางจมูก
2.1   ควรนำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่มีสารพิษ
2.2   ช่วยให้ผู้ป่วยหายใจสะดวก และเป่าลมเข้าทางปากหรือจมูก
2.3   ให้ยาดมฉุนๆ เพื่อช่วยกระตุ้นการหายใจ
3.      เมื่อสารมีพิษเข้าทางผิวหนัง
3.1   ควรรีบล้างน้ำสะอาดให้มากๆ
3.2   หากถูกกรดต้องล้างด้วยน้ำสะอาดมากๆ แล้วล้างด้วยสารละลายอิ่มตัวของโซเดียมไบคาร์บอเนต
3.3   หากถูกด่างต้องล้างด้วยน้ำสะอาดมากๆ แล้วล้างด้วยสารลายกรดน้ำส้ม
3.4   หากกรดหรือด่างเข้าตา ต้องรีบล้างด้วยนำสะอาดและลืมตาในน้ำสะอาดนานๆ แล้วรีบส่งแพทย์
2.2 อุบัติเหตุจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และการป้องกัน
     การตายจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก มีประมาณ 1 ใน 5 ของอุบัติเหตุที่เกิดภายในครัวเรือน ซึ่งเกิดขึ้นได้กับทุกคนในครอบครัว โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ มีผลให้บุคคลได้รับบาดเจ็บ เป็นแผลพุพอง ปวดแสบปวดร้อน ร่างกายทุกข์ทรมาน อันตรายถึงกับเสียชีวิต และสูญเสียทรัพย์สินด้วย โดยอันตรายที่เกิดขึ้นแท้จริง มิได้เกิดจากเปลวไฟ แต่เกิดจาก ควันไฟประมาณกันว่าร้อยละ 80 ของคนที่ติดอยู่ในกองเพลิงเสียชีวิต จากการสำลักควันไฟก่อน จะถูกเปลวไฟเผาไหม้ตามร่างกาย   
     สาเหตุที่ทำให้เกิดไฟไหม้ น้ำร้อนลวก การเกิดไฟไหม้ น้ำร้อนลวกมีสาเหตุดังนี้

     1. ความประมาทเลินเล่อ มักเกิดจากการทิ้งก้นบุหรี่ที่ยังดับไม่สนิท ลงในตะกร้าทิ้งเศษกระดาษ การใช้ไม้ขีดไฟแล้วปิดกลักไม่สนิท การจุดธูปเทียนไหว้พระแล้วปล่อยทิ้งไว้ การใช้วัตถุไวไฟ เช่น ทินเนอร์ เบนซิน นำยาซักแห้ง ใกล้ไฟ
     2. การขาดความรู้ และไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ ในการใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ  รวมทั้ง การใช้กระแสไฟฟ้ามากเกินไป การใช้ไฟหลายทางพร้อมๆ กันจากสายไฟเส้นเดียว หรือใช้เต้าเสียบเดียว กับปลั๊กเสียบหลายตัว ซึ่งอาจทำให้กระแสไฟฟ้า ที่ไหลผ่านเกินกำลัง ไฟฟ้าช็อต หรือไฟฟ้าลัดวงจรได้
     3. ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์  การที่เด็กดึงผ้าปูโต๊ะที่วางกระติกน้ำร้อน ทำให้กระติกน้ำร้อนหล่อนลงมา และน้ำร้อนลวกได้ การที่เด็กใช้วัสดุหรือนิ้วมือแหย่ปลั๊กไฟ การที่เด็กเอามือไปแตะที่กาน้ำร้อน หรือของร้อน ที่วางไว้ใกล้มือ การเล่นไม้ขีดไฟ ไฟแช็ก ในเด็กๆ การใช้เบนซินหรือน้ำมันก๊าดสำหรับก่อไฟ ในการหุงต้ม
     4. อุบัติเหตุต่างๆ ได้แก่ อุบัติเหตุจาการแตกรั่วของท่อแก๊สหุงต้มอาหาร อุบัติเหตุจาการใช้ไฟฟ้า เช่น  การลัดวงจร การใช้ไฟฟ้าเกินกำลัง ทำให้ไฟช็อด อุบัติเหตุจากลูกไฟจากปล่องไฟของโรงงานลอบไปตกบนสิ่ง ที่เป็นเชื้อเพลิง

     5. ธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า ในขณะที่พายุหรือฝนตกหนัก หากไม่มีสายล่อฟ้าที่ถูกต้อง ก็จะเกิดไฟไหม้ได้ หรือ การสันดาปของสารเคมีบางชนิด เช่น ฟอสฟอรัสเหลือง ฟอสฟอรัสขาว ที่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ
     6. สาเหตุอื่นๆ เช่น การวางเพลิง การวางระเบิด การติดต่อลุกลามจากไฟไหม้บริเวณใกล้เคียง เป็นต้น
     การป้องกันอุบัติเหตุจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก การป้องกันอุบัติเหตุจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก มีดังนี้
     1. การรู้จักระมัดระวังไม่ประมาท เช่น การทิ้งก้นบุหรี่ต้องดับให้สนิทเสียก่อน เก็บวัตถุไวไฟในที่ปลอดภัย ห่างจากเปลวไฟ หรือห้องครัว ไม่สูบบุหรี่ที่เตียงนอน ไม่จุดธูปเทียนไหว้พระทิ้งไว้ ห้ามเด็กเล่นไฟ จุดพลุหรือจุดดอกไม้ไฟเล่น และตรวจสภาพเตาแก๊ส และถังแก๊สอยู่เสมอ
     2. การศึกษาหาความรู้  ปฏิบัติตามคำแนะนำ ในการใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ อย่างเคร่งครัด เลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าและสายไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ หมั่นตรวจตรา อุปกรณ์ไฟฟ้า และสายไฟฟ้า ให้อยู่ในสภาพที่ดีเสมอ หากชำรุดต้องรีบเปลี่ยนทันที อย่าใช้ไฟฟ้า มากเกินขนาดของสายไฟฟ้าที่มีอยู่ และอย่าใช้เต้าเสียบตัวเดียว กับปลั๊กเสียบหลายตัว เพราะกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเต้าเสียบมาก สายไฟจะร้อนจัด และลุกไหม้ได้ นอกจากนั้น เวลาที่จะต่อสายไฟฟ้า หรือเดินสายไฟฟ้าหรือทำการต่อฟิวส์ จะต้องยกสะพานไฟก่อนทุกครั้ง หรือหากไม่มีความรู้ความชำนาญเพียงพอ ควรให้ช่างไฟฟ้าเป็นผู้ซ่อมแซมแก้ไข
     3. การให้คำแนะนำ บอกหรืออบรมสั่งสอนสมาชิกในบ้าน ให้รู้จักปฏิบัติตนเพื่อให้ปลอดภัย เช่น แนะนำให้จับตัวปลั๊ก เมื่อจะเสียบหรือถอดปลั๊กไฟ อย่าใช้การดึงหรือกระชากสายไฟ อย่าตอกตะปูทับสายไฟฟ้า หรืออย่าขึงลวดราวตากผ้าทับสายไฟฟ้า เวลาที่มือหรือเท้าเปียกชื้นหรือพื้นที่บริเวณเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นชื้นแฉะ หรือเครื่องไฟฟ้าที่ต้องการใช้นั้นเปียกน้ำ ต้องงดการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดทันที เพราะน้ำเป็นสื่อนำไฟฟ้า ได้ดีมากและไม่ควรเล่นว่าวใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง รวมทั้งไม่ใช้ไฟฟ้าจับปลาเด็ดขาด เพราะอาจถูกไฟฟ้าดูด เสียชีวิตได้ และผิดกฎหมายด้วย
     4. การติดตั้งและข้อควรระมัดระวังเกี่ยวกับอุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เพื่อความปลอดภัย ควรติดตั้งเต้าเสียบ ให้สูงกว่าพื้นไม่น้อยกว่า 1.20 เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเล็กเอานิ้วแหย่เล่น หรือใช้โลหะไชเข้าไป ควรต่อสายลงดินสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด ใช้สวิตซ์เต้าเสียบ และขั้วหลอดไฟฟ้าชนิดที่มีฉนวนหุ้มมิดชิด เลือกใช้ฟิวส์ที่มีขนาดเหมาะกับ วงจรไฟฟ้าที่ใช้เท่านั้น และไม่ใช้ลวดทองแทนฟิวส์เป็นอันขาด ในการตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทตู้เย็น หรือโทรทัศน์ ควรตั้งให้ตู้ห่างฝา เกิน 10 เซนติเมตร และไม่ควรวางเศษผ้า เศษกระดาษ หรือขยะไว้ด้านหลังเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อจะได้ ระบายความร้อนได้สะดวก ไม่เปลืองไฟฟ้า และป้องกันการลุกไหม้ที่อาจเกิดขึ้นได้  นอกจากนี้ ไม่ควรติดตั้งสวิตซ์ไฟฟ้า เต้าเสียบ หรือนำเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ไม่มีเครื่องป้องกันอย่างเพียงพอ ไว้ภายในห้องน้ำ เพราะน้ำเป็นสื่อนำไฟฟ้าได้ดี และไม่ควรติดตั้งสาย และอุปกรณ์ไฟฟ้าไว้กับตู้เลี้ยงปลาด้วย เพราะอาจรั่วได้ หากติดตั้งไม่ถูกต้อง และใช้ไม่เหมาะสม ถ้าต้องการนำเครื่องใช้ไฟฟ้า นำปั๊มลมมาใช้ควรต่อครอบโลหะลงดิน
   สำหรับการป้องกันเพลิงไหม้จากไฟฟ้า ซึ่งแผนดับเพลิงพิทักษ์ประชา’29 ได้แนะนำไว้มีดังนี้
1.      อย่าใช้ลวดทองแดงแทนฟิวส์
2.      อย่าใช้ฟิวส์ผิดขนาด ไปจากมาตรฐานที่การไฟฟ้ากำหนด
3.      อย่าใช้ไฟฟ้าเกินขนาดของสายไฟ
4.      อย่าใช้กระดาทำโคมไฟ
5.      อย่าเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทิ้งไว้ เมื่อเลิกใช้ควรถอดออกทุกครั้ง
6.      อย่าต่อปลั๊กไฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายๆ ชนิด ในปลั๊กเดียวกัน
7.      อย่าเดินสายไฟลอดใต้เสื่อหรือพรม
8.      อย่านำวัตถุไวไฟใกล้กับแผงสวิทซ์ไฟฟ้า
9.      ควรใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า ตามคำแนะนำของผู้ผลิต
10. ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้า ให้ได้มาตรฐานของสำนักงานมาตรฐาน กระทรวงอุตสาหกรรม
11. ควรใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อนด้วยความระมัดระวัง
12. ควรมีระบบตัดไฟ เพื่อป้องกันไฟฟ้าซ๊อดหรือรั่ว
     ก่อนออกจากบ้าน หรือ ก่อนเข้านอนทุกคืนควรตรวจดูให้ดีเสียก่อน
1.      ธูปเทียนที่จุดเอาไว้
2.      เครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้า
3.      เตาแก๊ส
4.      ก้นบุหรี่
(ท่านได้จัดการเรียบร้อยแล้วหรือยัง)
    5. การติดตั้งเครื่องตัดไฟ เครื่องมือตรวจจับความร้อน และควันไฟ (Home Smoke Detectors) ระบบเตือนไฟไหม้ (Fire Warning System) และเครื่องดับเพลิงภายในบ้าน ควรติดตั้งเครื่องป้องกัน อันตรายต่างๆ ไว้ภายในบ้าน เครื่องตัดไฟจะช่วยตัดไฟเมื่อเกิดไฟดูด ไฟรั่ว ไฟช๊อตหรือใช้ไฟมากเกินไฟ ส่วนเครื่องเตือนกลิ่นควันไฟ และระบบเดือนไฟไหม้ ้จะช่วยให้ทราบเร็วขึ้นว่า เกิดการลุกไหม้ภายในบ้านแล้ว สมาชิกทุกคนในบ้านจะได้เตรียมพร้อมเพื่อแก้ปัญหา และหาทางออก จากที่เกิดเหตุได้โดยรวดเร็ว สำหรับเครื่องดับเพลิงนั้น ควรจัดให้มีเครื่องดับเพลิง ชนิดผงเคมีแห้ง เพราะใช้ดับเพลิงได้ทุกประเภท และใช้ในการดับเพลิงขั้นต้น จากกระแสไฟฟ้า ซึ่งต้องหมั่นตรวจสภาพให้พร้อม ที่จะใช้ได้ทันทีอยู่เสมอ
     อย่างไรก็ตาม พึงระลึกเสมอว่าเครื่องป้องกันอันตรายต่างๆ มิใช่บ่งบอกว่า จะไม่เกิดอัคคีภัยเสมอไป สมาชิกทุกคนในบ้านจะต้องรู้จักระมัดระวังอันตราย และตรวจสอบเครื่องป้องกันอันตราย และเครื่องเตือนภัยด้วย ความสุขและความปลอดภัยจึงจะบังเกิดขึ้น

     ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดไฟไหม้ มีดังนี้

     1. ให้แจ้งข่าวเพลิงไหม้ทันที ต่อหน่วยดับเพลิงที่อยู่ใกล้บริเวณเกิดเหตุมากที่สุด (สำหรับในเขตกรุงเทพมหานครแจ้งได้ที่ 199 191 หรือ 123)
     2. ควรดับเพลิงด้วยเครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง เพราะใช้ดับเพลิงได้ทุกประเภท
    หากไม่สามารถดับเพลิงขั้นต้นได้ ให้รีบปิดประตูห้อง หรือหน้าต่าง และอุดท่อต่างๆ ซึ่งจะทำให้ไฟลุกลามช้าลงไฟ จากนั้นให้รีบหาทางออก จากที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุด ถ้าเป็นอาคารสูง ให้หนีลงทางบันไดหนีไฟ อย่าใช้ลิฟท์เป็นอันขาด เพราะเมื่อไฟฟ้าดังจะติดอยู่ในลิฟท์นั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น