วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ใบความรู้ เรื่อง “อุบัติภัยและภัยสาธารณะ”หลักการปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยจากอุบัติภัยและภัยสาธารณะ

การเดินทางทางน้ำ
หลักการปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยจากการเดินทางทางน้ำ
๑. ผู้บริการห้ามรับผู้โดยสารเกินกำหนด
๒. ภายในเรือต้องจัดเตรียมเสื้อชูชีพประจำแต่ละที่นั่งให้พร้อม
๓. จัดเจ้าหน้าที่คอยควบคุมการขึ้นลงโป๊ะ  การเทียบเรือ  การบรรทุกผู้โดยสาร
การป้องกันอุบัติเหตุจากการเดินทางทางน้ำ
๑. การให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีเดินทางน้ำอย่างปลอดภัยและฝึกหัดว่ายน้ำสำหรับผู้เดินทางทางน้ำเป็นประจำ
๒. การปรับปรุงทางด้านวิศวกรรม  ได้แก่  การปรับปรุงโป๊ะให้มีความมั่งคงแข็งแรง  และจัดพื้นที่บนบกสำหรับพักเพื่อรอลงเรือของผู้โดยสาร
๓. การบังคับให้ปฏิบัติตามกฎหมาย  ได้แก่  เรือรับจ้างบรรทุกคนโดยสารต้องตรวจสภาพตัวเรือทุกๆ ๖ เดือน

ไฟไหม้อาคาร
หลักการปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยจากไฟไหม้อาคาร
๑. หาทางหนีโดยเร็วที่สุด ให้ใช้บันไดเป็นทางหนีไฟ อย่าใช้ลิฟต์
๒. ถ้าติดอยู่ในห้องที่เต็มไปด้วยควันไฟ หมอบตัวลงระนาบกับพื้น รีบคลานไปที่หน้าต่าง หายใจสั้นๆ ทางจมูก อย่าหายใจทางปาก ตั้งสติให้ดี อย่าตกใจ และตะโกนขอความช่วยเหลือ
๓. ใช้มือคลำประตูก่อนเปิด ถ้ารู้สึกร้อนอย่าเปิด
๔. อย่ากระโดดออกจากตึกทางหน้าต่างเพื่อหนีไฟ
๕. เมื่อเห็นคนจำนวนมากหนีไฟไปในทางเดียวกัน  จงพยายามหาทางออกอื่น เพราะอาจมีการเบียดเสียด หกล้ม และถูกเหยียบได้
๖. ถ้าเป็นบุคคลกลุ่มแรกๆ ที่หนีออกมา

การป้องกันอุบัติภัยจากไฟไหม้อาคาร
๑. การให้ความรู้เกี่ยวกับการกำจัดหรือควบคุมสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟไหม้  เช่น การใช้ไฟและความร้อนด้วยความระมัดระวัง มีการเตรียมพร้อมเพื่อป้องกันไฟไหม้ ฝึกวิธีปฏิบัติในการ หนีไฟอย่างถูกต้อง รวมทั้งการอบรมเรื่องการใช้เครื่องดับเพลิง
๒. การปรับปรุงด้านวิศวกรรม โดยเน้นเรื่องการออกแบบก่อสร้างอาคารให้ถูกต้อง เช่น มีบันไดหนีไฟ ระบบไฟฉุกเฉิน ระบบระบายอากาศ
๓. การบังคับให้ปฏิบัติตามกฎหมาย  โดยเน้นปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร  พ.ศ. ๒๕๒๒  และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ( ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๓๕

แผ่นดินไหว
หลักการปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยจากแผ่นดินไหว
๑. เตรียมไฟฉายพร้อมกับอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้นเก็บไว้ในที่หยิบใช้ได้สะดวก
๒. ตู้ รูปภาพติดผนัง ตู้เย็น โทรทัศน์ ควรผูกให้แน่น หรือให้ยึดติดกับผนัง
๓. ขณะเกิดแผ่นดินไหว
-หากอยู่ในบ้าน ให้ย้ายไปอยู่ในบริเวณของบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง  และอยู่ห่างจากหน้าต่างประตู
- หากอยู่นอกบ้าน ให้ยืนอยู่ในที่โล่งห่างจากเสาไฟฟ้า และต้นไม้ใหญ่
- หากกำลังขับรถยนต์ ให้หยุดรถและอยู่ในรถจนกระทั่ง  การสั้นสะเทือนหยุด
- ห้ามใช้ลิฟต์ขณะเกิดแผ่นดินไหว
- รีบดับไฟในเตาหุงต้มหรือไฟตะเกียง เพื่อป้องกันไฟไหม้
๔. เมื่ออาการสั้นสงบลง
- ตรวจดูว่ามีใครได้รับบาดเจ็บ แล้วให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- รีบออกจากตึกที่เสียหาย
- ตรวจดูท่อน้ำประปา ถังแก๊ส และสายไฟฟ้า
-  ถ้าเสียหายให้ปิดวาล์วและยกสะพานไฟ เปิดวิทยุ ฟังคำแนะนำฉุกเฉิน
การป้องกันอุบัติภัยจากแผ่นดินไหว
๑. การให้ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุของแผ่นดินไหว หลักการปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยจากแผ่นดินไหว
๒. จัดตั้งสถานีตรวจแผ่นดินไหว เพื่อตรวจวัดการสั่นสะเทือนของพื้นดิน และแจ้งข่าวเตือนโดยมีกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรับผิดชอบในการจัดตั้งสถานี
๓. การบังคับให้ปฏิบัติตามกฎหมาย โดยประกาศใช้กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๙ (พ.ศ.๒๕๔๐)

ตึกถล่ม
หลักการปฏิบัติภัยจากแผ่นดินไหว
๑. ระมัดระวังเมื่อเข้าไปอยู่ภายในอาคารที่มีรอยร้าว
๒. รีบออกจากตึกให้เร็วที่สุดเมื่อส่วนประกอบต่างๆ ของตัวอาคารมีเสียงดังลั่น การป้องกันอุบัติภัยจากตึกถล่ม
๑. การให้ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของอาคารที่ก่อสร้างได้มาตรฐานทางวิชาการ  และโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัยจากตึกถล่ม
๒. การปรับปรุงด้านวิศวกรรม ได้แก่ การต่อเติมอาคาร หรอสร้างอาคารต้องได้มาตรฐานความปลอดภัย
๓. การบังคับให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ได้แก่ การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒

หนังสืออ้างอิง

สมหมาย แตงสกุล และธาดา วิมลวัตรเวที. ๒๕๔๔. สุขศึกษาและพลศึกษา. กรุงเทพฯ : วัฒนาพาณิช.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น