วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

อิทธิพลของสื่อโฆษณาเกี่ยวกับสุขภาพเพื่อการเลือกบริโภค

ความหมาย
การโฆษณา หมายถึง การกระทำไม่ว่าวีใดๆเพื่อให้ประชาชนเห็นหรือรับทราบข้อความเพื่อประโยชน์ในการค้า
สื่อโฆษณา  หมายถึง สิ่งที่ใช้เป็นสื่อในการโฆษณา เช่น หนังสื่อพิมพ์ สิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ ป้ายโปสเตอร์  หรือกล่าวได้ว่า การโฆษณา คือการเผยแพร่ ชักจูงในเรื่องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์การผลิตด้วยข้อความที่ดยการผ่านสื่อประเภทต่าง ๆ ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยในการจำหน่ายสินค้า ไปถึงมือผู้บริโภคโดยเร็ว
          วัตถุประสงค์ของการโฆษณา
1.      แนะนำสินค้า  หรือบริการ ให้เป็นที่รู้จักเผยแพร่ และส่งเสริมการขายสินค้านั้น
2.      เพื่อทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการนั้นว่าการพัฒนาไปอย่างไร
3.      เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดความต้องการใช้สินค้านั้นๆ
4.      เพื่อแสวงหาการจำหน่าย หรือคงรักษา และเพิ่มยอดในการจำหน่ายและบริการ
ในสภาพสังคมปัจจุบันผู้บริโภคล้วนตกอยู่ในภายใต้ของการโฆษณาในรูปแบบต่าง ๆไม่ว่าหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ แผ่นป้าย และอื่น ๆ ซึ่งมีข้อความหรือคำพูดหรือการแสดงด้วยการชักจูง ถ้าการโฆษณาไม่เกินความเป็นจริง มีความเป็นธรรมกับผู้บริโภค ก็นับว่าเป็นประโยชน์ เพราะจะเป็นข้อมูลให้ผู้บริโภครู้จักสินค้าและสามารถเลือกในการตัดสินใจเลือดสินค้าได้อย่างถูกต้อง
สื่อโฆษณาเกี่ยวกับสุขภาพเพื่อการเลือกบริโภค
          การโฆษณาที่ปรากฏตามสื่อต่าง ๆ จะมีการนำเสนอตามกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม
1.      กลุ่มผู้บริโภคตามเศรษฐกิจและสังคม เช่น ตามเพศ ตามระดับการศึกษา ตามวัย
2.      กลุ่มผู้บริโภคตามด้านจิตวิทยาและสังคม เช่น ผู้บริโภคบางกลุ่มอาจซื้อสินค้าที่มีราคาสูง คุณภาพดี ผู้บริโภคบางกลุ่มอาจเลือกซื้อสินค้าคุณภาพปานกลางราคาถูก
3.      กลุ่มผู้บริโภคที่ใช้สินค้านั้นเป็นประจำ


กลไกของการโฆษณาชักจูง
ผู้บริโภคควรมีความรู้เกี่ยวกับกลไกของการโฆษณาชักจูง และนำมาวิเคราะห์ ไตร่ตรองไม่ให้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของการโฆษณา ดังนี้
1.      การโฆษณาเป็นการกระตุ้นความต้องการของมนุษย์ เพราะมนุษย์มีความต้องการไม่สิ้นสุด การโฆษณาเปรียบเสมือนแรงในการกระตุ้นความต้องการมากขึ้น โดยสร้างจูงใจให้ผู้บริโภคเกิดความอ่อนไหว เชื่อว่าสินค้านั้นดีที่สุดเหมาะสมกับตนเองจนอาจไม่คำนึงถึงราคาและความจำเป็น
2.      การโฆษณาเป็นการป้อนข้อมูล มนุษย์สามารถรับรู้ได้ทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้าน ดังนั้น การโฆษณาจึงชักจูงให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อและจดจำง่าย ดังเช่นการติดตั้งป้ายโฆษณาให้เห็นง่าย คำที่ใช้โฆษณาง่ายๆ สั้น ๆ ทำให้จำได้ง่าย
3.      การโฆษณาเป็นการกระตุ้นให้ยอมรับผ่านกลุ่มต่าง ๆ จนผู้บริโภคมักจะเกิดแนวคิดความเชื่อตามกลุ่มสังคม การพูดจาหว่านล้อมจากบุคคลใกล้ชิด
กลไกการโฆษณาที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนเป็นวิธีที่จะทำให้ผู้บริโภคตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของการโฆษณาทั้งสิ้น ดังนั้นผู้บริโภคต้องมีหลักในการเลือกบริโภคที่ฉลาด เพื่อไม่ให้ตกเป็นทาสของการบริโภคที่ผิด ๆ
ข้อควรปฏิบัติหลังจากซื้อสินค้าและบริการ
          ผู้บริโภค ควรเก็บรักษาหลักฐานต่าง ๆ ที่แสดงถึงการถูกละเมิดสิทธิของผู้บริโภคไว้เรียกร้องสิทธิของตนเอง เช่น สินค้าที่แสดงว่ามีปริมาณหรือคุณภาพไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่ระบุไว้ หรือเกิดความสกปรก มีสิ่งแปลกปลอมปน มีพิษภัยก่อเกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ควรจำสถานที่ซื้อหรือเก็บใบเสร็จรับเงิน เก็บเอกสาร การโฆษณาไว้เพื่อประกอบการร้องเรียน เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการดำเนินการร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากำกับดูแลหรือร้องเรียนไปยังคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น
หนังสืออ้างอิง
อุทัย สงวนพงศ์ และคณะ. 2551. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา
และพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. กรุงเทพฯ: บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น