วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ใบความรู้ เรื่องสมรรถภาพทางกายและสมรรถภาพทางจิต

ความหมายของสมรรถภาพทางกาย
             คำว่า สมรรถภาพทางกาย (Physical fitness) หมายถึง ภาพความสามารถของร่างกายในการประกอบการงานหรือ กิจกรรมทางกาย อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอย่างดีโดยไม่เหนื่อยเร็ว สมรรถภาพทางกายเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาการทางด้านร่างกาย ของมนุษย์ สมรรถภาพทางกายของบุคคลทั่วไปจะเกิดขึ้นได้จากการเคลื่อนไหวร่างกาย หรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ถ้าหยุดออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงเมื่อใด สมรรถภาพทางกายจะลดลงทันที
องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกาย
              การที่คนเราจะทราบได้ว่า สมรรถภาพทางกายของตนจะดีหรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาที่องค์ประกอบต่าง ๆ ของสมรรถภาพ ทางกาย ซึ่งกองส่งเสริม     พลศึกษาและสุขภาพกรมพลศึกษา ได้กล่าว สมรรถภาทางกายโดยทั่วไป ประกอบด้วยสมรรถภาพ ด้านย่อย ๆ 9 ด้าน
                              1. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
                              2. ความทนทานของกล้ามเนื้อ
                              3. ความทนทานของระบบหมุนเวียนของโลหิต
                              4. พลังของกล้ามเนื้อ
                              5. ความอ่อนตัว
                              6. ความเร็ว
                              7. การทรงตัว
                              8. ความว่องไว
                              9. ความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาและเท้ากับตา
                องค์ประกอบต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้นแต่ละด้าน มีความหมายที่แตกต่างกันไป ดังนี้
                1. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ หมายถึง ความสามารถในการหดตัวหรือการทำงานของกล้ามเนื้อที่จะทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้สูงสุดในแต่ละครั้ง เช่น ความสามารถในการยกของหนัก ๆ ได้ มีพลังบีบมือได้เหนียวแน่น และสามารถออกแรง ผลักของหนัก ๆ ให้เคลื่อนที่ได้เป็นต้น
                 2. ความทนทานของกล้ามเนื้อ หมายถึงความสามารถของกล้ามเนื้อในการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งได้ติดต่อกัน เป็นเวลานาน ๆ ได้งานมาก แต่เหนื่อยน้อย ตัวอย่าง การทำงานที่แสดงถึงความทนทานของกล้ามเนื้อ เช่นการแบกของหนักได้ เป็นเวลานาน ๆ การวิ่งระยะไกล การถีบจักรยานทางไกลการงอแขนห้อยตัวเป็นเวลานาน ๆ เป็นต้น
                 3. ความทนทานของระบบหมุนเวียนโลหิต หมายถึงความสามรถในการทำงานขอระบบหมุนเวียนโลหิต ซึ่งประกอบด้วย หัวใจ ปอด และเส้นเลือดที่จะทำงานได้นาน เหมื่อยช้า ในขณะที่บุคคลใช้กำลังกายเป็นเวลานานและเมื่อร่างกาย เลิกทำงานแล้ว ระบบหมุนเวียนโลหิตจะสามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้ในเวลารวดเร็ว ตัวอย่างกิจกรรมที่ปฏิบัติแล้วแสดงถึง การมีความทนทานของ ระบบหมุนเวียนโลหิต เช่น การว่ายน้ำระยะไกล การวิ่งระยะไกล โดยการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจไม่ผิดปกติ
                 4. พลังกล้ามเนื้อ หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อในการทำงานในครั้งหนึ่งอย่างแรงและรวดเร็ว จนทำให้วัตถุหรือร่างกาย เคลื่อนไหวอย่างเต็มที่ การทำงานของร่างกายที่ใช้พลังกล้ามเนื้อ จะเป็นกิจกรรมประเภทการดึง ดัน ทุ่ม พุ่ง ขว้าง และกระโดด ดังตัวอย่าง การกระโดดสูง การทุ่มน้ำหนัก พุ่งแหลน ขว้างจักร และการยืนกระโดดไกล เป็นต้น
                  5. ความอ่อนตัว หมายถึง การประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อ เอ็น พังผืด และข้อต่อต่าง ๆ ที่มีความยืดหยุ่นในขณะทำงาน หรือ อาจกล่าวได้ว่าเป็นความสามารถในการเหยียดตัวของข้อต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในขณะทำงาน เช่น การก้มตัวใช้มือแตะพื้นโดยไม่งอเข่า การแอ่นตัวใช้มือแตะขาพับได้โดยไม่งอเข่า เป็นต้น
                  6. ความเร็ว หมายถึง ความสามารถของร่างกายในการเคลื่อนที่ในลักษณะเดียวกัน จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งในแนวเดียวกัน หรือในแนวตรงในระยะเวลาที่สั้นที่สุด เช่น การวิ่งระยะสั้น
                  7. การทรงตัว หมายถึง การประสานงานระหว่างระบบของประสาทกับกล้ามเนื้อที่ทำให้ร่างกายสามารถทรงตัวอยู่ใน ตำแหน่งต่าง ๆ อย่างสมดุลตามความต้องการ กิจกรรมที่เป็นการทรงตัว เช่น การเดินตามเส้นตรงด้วยปลายเท้า การยืนด้วยเท้าข้างเดียวกางแขน การเดินต่อเท้าบนสะพานไม้แผ่นเดียว เป็นต้น
                  8. ความว่องไว หรือความคล่องตัว หมายถึง ความสามารถในการเปลี่ยนทิศทาง หรือเปลี่ยนตำแหน่งการเคลื่อนไหว ของร่างกายอย่างรวดเร็ว และตรงเป้าหมายตามที่ต้องการ ดังตัวอย่างที่แสดงถึงความว่องไว เช่น การยืนและ นั่งสลับกันด้วย ความรวดเร็ว เป็นต้น
                  9. ความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาแลเท้ากับตา หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นการประสานงานของประสาทกับ กล้ามเนื้อ ในการทำงาน หมายถึง ความสามารถที่จะทำการเคลื่อนไหวมือและเท้าได้สัมพันธ์กับตาในขณะทำงาน เช่น การจับ การปาเป้า การยิงประตูฟุตบอล การส่งลูกบอลกรทบฝาผนังแล้วรับ เป็นต้น

ประโยชน์ของการมีสมรรถภาพทางกายดี
                    การมีสมรรถภาพทางกายที่ดีนั้นจะก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการพอสรุปส่วนที่สำคัญได้ดังนี้
                    1. กล้ามเนื้อมีความสามารถในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น กล่าวคือ กล้ามเนื้อที่ใช้ในการออกกำลังกายหรือทำงานจะมี ขนาดใหญ่แข็งแรงมากขึ้น
                    2. กล้ามเนื้อหัวใจจะมีความแข็งแรงสามารถหดบีบตัวได้แรงขึ้น ช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น หัวใจ สามารถรับออกซิเจนได้มากขึ้น
                    3. ระบบประสาทสามารถควบคุมการทำงานของร่างกายได้ดีขึ้น จะช่วยให้ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยความชำนาญ
                    4. ร่างกายเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ กล้ามเนื้อต่าง ๆ ของร่างกายเจริญเติบโตได้สัดส่วนสามารถทำงาน อย่าง มีประสิทธิภาพ
                    5. ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคสูง และลดการเจ็บป่วยเนื่องจากผู้ที่มีสมรรถภาพทางกายดีย่อมมีสุขภาพดีไม่มีโรคเบียดเบียน
                    6. มีบุคลิกดี ผู้ที่มีสมรรถภาพทางกายดีร่างกายจะมีการทรงตัวดีมีทรวดทรงที่สง่างาม เป็นการช่วยเสริมบุคลิกภาพ ได้ทางหนึ่ง
                    7. เกิดความมั่นใจในตนเองในการปฏิบัติงานหรือประกอบกิจกรรมต่าง ๆ
                    8. เกิดการเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ ได้ดี เพราะผู้ที่มีสมรรถภาพทางกายดี ย่อมมีสุขภาพดี การทีสุขภาพที่ดี สมบูรณ์ ์แข็งแรงช่วยให้จิตใจแจ่มใส เมื่อจิตใจแจ่มใส ย่อมมีสมาธิเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างเต็มความสามารถ
เสริมความรู้
            สำหรับในประเทศไทย นิยมใช้แบบทดสอบซึ่งคณะกรรมการนานาชาติได้ศึกษาวิจัยหาวิธีการวัดและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายขึ้น โดยใช้ชื่อแบบทดสอบว่า แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายมาตรฐานของคณะกรรมการนานาชาติ ิ(International Committee For the Standardization of physical Fitness test หรือ ICSPFT
ความหมายของสุขภาพกายและสุขภาพจิต
                   สุขภาพกาย  หมายถึง สภาวะของร่างกายที่มีความสมบูรณ์  แข็งแรง  เจริญเติบโตอย่างปกติ  ระบบต่างๆ ของร่างกายสามารถทำงานได้เป็นปกติและมีประสิทธิภาพ  ร่างกายมีความต้านทานโรคได้ดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและความทุพพลภาพ
                   สุขภาพจิต  หมายถึง  สภาวะของจิตใจที่มีความสดชื่น แจ่มใส สมารถควบคุมอารมณ์ให้มั่นคงเป็นปกติ สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสิ่งแวดล้อมต่างๆ  ได้ดี  สามารถเผชิญกับปัญหาต่างๆได้เป็นอย่างดี และปราศจากความขัดแย้งหรือความสับสนภายในจิตใจ

คำสำคัญของสุขภาพกายและสุขภาพจิต
                   สุขภพกายและสุขภาพจิตเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับทุกชีวิตการที่จะดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติก็คือ  การทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์  จิตใจมีความสุข ความพอใจ  ความสมหวังทั้งตนเองและผู้อื่น ผู้ที่มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีจะปฏิบัติหน้าที่ประจำวันไม่ว่าเป็นการเรียนหรือการทำงานเป็นไปด้วยดี มีประสิทธิภาพการที่เรารู้สึกว่า ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเรามีความปกติและสมบูรณ์ดี  เราก็จะมีความสุขในทางตรงข้าม ถ้าสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเราผิดปกติหรือไม่สมบูรณ์  เราก็จะมีความทุกขรรู้จักบำรุงรักษาและส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิตของทุกคนในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่า  การรู้จักดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะช่วยให้ชีวิตอบยู่ได้ด้วยความสุขสมบูรณ์ และมีคุณภาพที่ดี
ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
        ผู้ที่มีสุขภาพกายดีจะมีลักษณะดังนี้.
1. มีการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายที่สมวัย มีน้ำหนักและส่วนสูงเป็นไปตาม เกณฑ์อายุ  2. มีขนาดร่างกายสมส่วน คือ มีน้ำหนักและส่วนสูงที่ได้สัดส่วน
3. กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ มีความแข็งแรง ลุก - นั่งได้หลายครั้ง ดึงข้อได้หลายครั้ง    4. มีความอดทนของระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิตที่ดี 
5. มีความอ่อนตัวที่ดี 6. มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนไหว  7. มีความอยากรับประทานอาหารและอยากรับประทานมากๆ ไม่เบื่ออาหาร
8. มีร่างกายแข็งแรง 9. มีภูมิต้านทานโรคดี และไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ไม่พิการหรือผิดปกติอื่นๆ  10. พักผ่อนนอนได้เป็นปกติ

ลักษณะผู้ที่มีสุขภาพจิตที่ดี
          การที่จะบอกได้ว่า  บุคคลใดมีสุขภาพจิตดีหรือไม่นั้นต้องสนิทหรือรู้จักกับบุคคลนั้นพอสมควร  ถ้ารู้กันเพียงผิวเผิน คงบอกได้ยาก  ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตที่ดี มีดังนี้.
1. ไม่เป็นโรคจิต  โรคประสาท   2.สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได  3. มีสัมพันธ์ภาพที่ดีกับบุคคลอื่นๆ
4.  มีชีวิตมั่นคง ไม่จัดแย้ง เมื่อที่ใดก็มีความสุข ความสบายใจ    5.  ยอมรับความเป็นจริงเกี่ยวกับตนเอง  เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
6. ยอมรับข้อบกพร่องของตนเอง  ให้อภัยข้อบกพร่องข้อคนอื่น  7.  มีความรับผิดชอบ   8. มีความพึงพอใจกับงานและผลงานของตนเอง  พอใจที่จะเป็น
   ผู้ให้มากกว่าผู้รับ  9. แก้ไขความไม่สบายใจ ความคับข้องใจ และความเครียดของตนเองได้ 10.รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่หวาดระแวงผู้อื่นเกิน
   ควร  11.  มีอารมณ์มั่นคง  เป็นคนอารมณ์ดี  มีอารมณ์ขันบ้าง  12. มีความเชื่อมั่นในตนเอง 13. สามารถควบคุมความต้องการของตนเองในความเป็น
   แนวทางที่สังคมยอมรับ 14. แสดงออกด้วยความรู้สึกสบายๆ  15. อยู่ในโลกความเป็นจริง สามารถเผชิญกับความจริงได้ แนวทางในการสร้างเสริม
   สมรรถภาพทางกายและสมรรถภาพทางจิตบุคคลที่มีสุขภาพทางกายและสุขภาพทางจิตที่ดีอยู่แล้วควรที่จะดำรงรักษาสมรรถภาพที่ดีเอาไว้  ส่วนบุคคล
   ที่มีสมรรถภาพทางกายและสมรรถภาพทางจิตที่ไม่ดีก็ควรจะสร้างเสริมสมรรถภาพให้ดีขึ้น  โดยมีแนวทางในการสร้างเสริมดังนี้

แนวทางในการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย
1. รู้จักพัฒนาสมรรถภาพทางกายในแต่ละด้าน  ดังนี้
1. การสร้างเสริมความทนทานของระบบหมุนเวียนเลือด  กระทำได้โดย  วิ่ง  ว่ายน้ำ  ถีบจักรยาน  เต้นแอร์โรบิก  เป็นต้น  ต้องปฏิบัติติดต่อกันอย่างน้อย  20 - 30 นาทีต่อครั้ง  และให้วัดชีพจรหรือการเต้นของหัวใจได้ 150 - 180 ครั้งต่อนาที
2. การสร้างเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กระทำโดยการใช้น้ำหนักตัวเอง  เช่น   ดันพื้น  ดึงข้อ  บาร์เดี่ยว  บาร์คู่  และใช้อุปกรณ์พวกดัมเบล  บาร์เบล  สปริง  การปฏิบัติต้องปฏิบัติเร็ว ๆ ใช้เวลาน้อย  เช่น ในการยกดัมเบลหรือบาร์เบล ให้ยก 1 - 3 ชุด  ชุดละ 4 - 6 ครั้ง  โดยใช้เวลาพักระหว่างชุด  3 - 4 นาที
3.  การสร้างเสริมความทนทานของกล้ามเนื้อ  ให้กระทำเช่นเดียวกับความแข็งแรงแต่ให้ปฏิบัติซ้ำหลายครั้ง ปฏิบัติช้าๆ  และแต่ละครั้งให้ใช้เวลานาน
4.  การสร้างเสริมความยืดหยุ่นหรือความอ่อนตัว  กระทำโดยการยืดกล้ามเนื้อและการแยกข้อต่อส่วนต่างๆ เช่น  กล้ามเนื้อหัวไหล่  ยืดกล้ามเนื้อหลัง  แยกข้อต่อสะโพก เป็นต้น  ให้คงการยืดไว้ประมาณ 5 - 10 วินาที  ในการฝึกครั้งแรก และค่อยเพิ่มระยะเวลาขึ้นไห้ได้ 30 - 45 วินาที
5.  การสร้างความคล่องแคล่วว่องไว  กระทำโดย  การวิ่งเร็ว  การวิ่งกลับตัว เป็นต้น
2. การสร้างสมรถภาพทางกายแต่ละครั้ง   ให้ปฏิบัติตามขั้นตอน  ดังนี้
1.  การอบอุ่นร่างกาย ( Warm  Up )  โดยการวิ่งเบาๆ และบริหารข้อต่อทุกส่วนเป็นเวลาประมาณ 5 - 15 นาที
2.  ปฏิบัติกิจกรรมสร้างสมรรถภาพทางกาย  โดยในแต่ละครั้งให้ปฏิบัติครอบคลุมในทุกๆ ด้าน ได้แก่  ความอดทนของระบบการหมุนเวียนเลือด  ความอดทน  และแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความอ่อนตัว  และใน 1 สัปดาห์  ควรทำการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายอย่างน้อย 3. - 5 วัน  โดยให้ปฏิบัติวันละ  30  นาที  ถึง 1 ชั่วโมง

แบบประเมินกระบวนการทำงานกลุ่มครั้งที่…………



         พฤติกรรม

  กลุ่มที่
การวางแผนการทำงาน
การอภิปราย/สรุป
การนำเสนอผลงาน

การส่งงาน
รวม
4
3
2
1
4
3
2
1
4
3
2
1
4
3
2
1
16
1

















2

















3

















4

















5

















6


















          ผู้ประเมิน       
                     นักเรียนกลุ่มนำเสนอ(ประเมินตนเอง)
                     นักเรียนกลุ่มที่ ......................... (เพื่อนประเมิน)
                    ครูผู้สอน(ครูประเมิน)
       
                     วันที่......เดือน.................พ .ศ...............

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น